6205 Views |
การทำกายภาพบำบัดสุนัข ด้วยการว่ายน้ำหรือการเดินสายพานใต้น้ำ (ธาราบำบัด)
การทำกายภาพบำบัดสุนัขโดยใช้น้ำ หรือธาราบำบัด (Hydrotherapy) เป็นการใช้คุณสมบัติของน้ำมาช่วยสุนัขที่มีปัญหาการเคลื่อนไหว ให้สามารถเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น
โดยคุณสมบัติน้ำที่มีผลต่อการกายภาพบำบัด ได้แก่
1. แรงลอยตัว (Buoyancy) สามารถช่วยพยุงน้ำหนักตัว ช่วยลดแรงกระแทกที่ข้อต่อ และช่วยลดความเจ็บปวดจากการเคลื่อนไหว
2. ความหนืด (viscosity) ช่วยประคองตัวไม่ให้ล้มง่าย และช่วยฝึกการทรงตัว
3. แรงต้านทาน (Resistance) ช่วยให้กล้ามเนื้อได้ออกแรงมากขึ้น ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
4. แรงดัน (Hydrostatic pressure) ช่วยลดอาการบวมของเนื้อเยื่อได้
ไม่เพียงแต่การกายภาพด้วยน้ำ หรือธาราบำบัด จะเหมาะสมกับสุนัขที่มีปัญหาหรือได้รับการผ่าตัดกระดูกและข้อ หรือระบบประสาทแล้ว สุนัขปกติก็สามารถใช้ธาราบำบัดเป็นทางเลือกที่ดีในการออกกำลังกายด้วย เพราะนอกจากทำให้สุนัขมีสุขภาพที่ดีแล้ว ยัง ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ ลดแรงกระแทกที่ส่งผลต่อโครงสร้างร่างกายได้ดีกว่าการออกกำลังกายด้วยวิธีอื่น
โดยสุนัขที่ทำธาราบำบัดต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ผ่านการฉีดวัคซีนตามโปรแกรมครบถ้วน ไม่มีแผล โรคผิวหนังและพยาธิภายนอก เช่น เห็บ หมัด เหา ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่อยู่ระหว่างการเป็นสัดหรือตั้งท้อง และที่สำคัญต้องได้รับการตรวจร่างกายจากสัตวแพทย์ก่อนว่าสามารถทำธาราบำบัดได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวสุนัขเอง
ธาราบำบัดที่นิยมในสุนัขได้แก่ การว่ายน้ำ และการเดินสายพานใต้น้ำหรือลู่วิ่งในน้ำ
การว่ายน้ำเพื่อการกายภาพบำบัด จะให้สุนัขว่ายเป็นเซต เซตละ 3-5 นาที แล้วพัก รวมประมาน 3-5 เซตแล้วแต่ความแข็งแรงของสุนัข ซึ่งส่วนมากมักใช้เวลา 30 นาที (ถ้าอยากพาน้องหมาไปว่ายน้ำ ควรอ่านบทความนี้ก่อนนะคะ "สระว่ายน้ำสุนัข: 3+1 สิ่งที่ควรรู้ก่อนพาน้องหมาไปว่ายน้ำ <<คลิก>> "
การเดินสายพายใต้น้ำ จะกำหนดความเร็วและเวลาที่ใช้จะขึ้นกับการประเมินจากสัตวแพทย์ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 15 นาที
การกายภาพทั้งสองวิธีมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในเรื่องรูปแบบของการเคลื่อนที่ของสุนัข โดยขณะสุนัขว่ายน้ำจะมีการยืดบริเวณข้อเข่าน้อยกว่าขณะเดิน หรือสุนัขบางตัวก็ไม่ใช้ขาหลังในการว่ายน้ำ ดังนั้นการเดินสายพานใต้น้ำจะตอบโจทย์มากกว่าโดยเฉพาะกับสุนัขที่มีปัญหาระบบประสาทแล้วต้องการฝึกท่าทางการเดิน
โดยขณะทำกิจกรรมควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญหรือมีสัตวแพทย์คอยให้คำแนะนำด้วยนะคะ
ประโยชน์ของธาราบำบัด
ข้อควรระวังของธาราบำบัด
............................................................................
บทความโดย สพ.ญ. อภิลักษณ์ มหัธนันท์